ITA
    ITA2562
      ITA2563
      ITA2564
      ITA2565
      ITA2566
    โครงสร้างบริหาร
      ทำเนียบผู้บริหาร
      ทำเนียบฝ่ายสภา
      ทำเนียบปลัดเทศบาล
      ทำเนียบส่วนราชการ
    ทำเนียบบุคลากร
      สำนักงานปลัด
      กองคลัง
      กองช่าง
      กองยุทธศาตร์และงบประมาณ
      กองสาธารณสุข
      กองการศึกษา
      งานตรวจสอบภายใน
    โครงสร้างเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
    วิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
    อำนาจหน้าที่เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
    ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
    คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    งานบุคคลากร
      นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
      การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
      หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
      รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
    หลักเกณฑ์การบริหารและพัมนาทรัพยากรบุคคล
    นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    รายงานการประชุมสภาเทศบาล
    รางานผลการดำเนิินงานประจำปี
    ประกาศกำหนดเปิดสมัยประชุมสภาเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
    รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
    การทบทวน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกภารกิจและจัดทำแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกเทศบัญญัติของเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
    การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
    การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
    มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
    การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
    ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
    ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    การขับเคลื่อนจริยธรรม
    การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    เทศบัญญัติ
      เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
      เทศบัญญัติอื่นๆ
    รายรับ-รายจ่าย ประจำปี
      รายงานการกำกับติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณ
      รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
      แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
    การโอนงบประมาณประจำปี
      การโอนงบประมาณ
      การเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณ
    แผนพัฒนา
      แผนพัมนาท้องถิ่น 2566-2570
      แผนพัฒนาสามปี(เดิม)
      แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565
      แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
      แผนพัฒนาสามปี ฉบับเพิ่มเติม
      แผนการดำเนินงาน
      รายงานติดตามและประเมินผลแผน
      รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ6เดือน
    แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
      แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
      แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ2566-2570
      ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
      แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
      รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ6เดือน
      รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
    รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
    กรอบอัตรากำลัง
      แผนอัตรากำลัง 3 ปี
      กรอบอัตรากำลังพนักงานจ้าง 4 ปี
    ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
      ประกาศข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
    รายงานผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
    ประกาศเจตจำนงสุจริต
    แผนบริหารจัดการความเสี่ยง
    ประกาศ นโยบายต่อต้านการรับสินบน ของขวัญ ของที่ระรึก ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใด (NO GIFT POLICY)
    การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
    การประเมินผลและรายงานผลนโยบาย No Gift Policy
    สรุปจัดซื้อจัดจ้าง
      ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง(สขร1)
    แผนการจัดหาพัสดุ
      การจัดทำแผนการจัดหาพัสดุ
      รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
      การจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
    รายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
    ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลา
    แผนผังแสดงขั้นตอนการรับเรื่องราวร้องเรียน/ร้องทุกข์
    ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล
      ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลฯ
    คู่มือสำหรับบริการประชาชน
    ท่องเที่ยว/สินค้าของฝาก
      แหล่งท่องเที่ยวบ้านหาดเสี้ยว
      แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว
      แนะนำที่กินที่พักบ้านหาดเสี้ยว
    ภาษี
    มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณา
    วัฒนธรรมชาวหาดเสี้ยว
      งานประเพณีวัฒนธรรม
      วิถีชีวิตชาวไทยพวน
      ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    การสำรวจการพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการบริการของเทศบาล
    การบริหารความเสี่ยง
      การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
      การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
    กระดานสนทนา
      ข่าวสารรายวัน
      เรื่องราวร้องทุกข์
      แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
    หนังสือพิมพ์
    ไทยรัฐ
    เดลินิวส์
    มติชน
    คมชัดลึก
    ข่าวสด
    ฐานเศรษฐกิจ
    ผู้จัดการ
    รวมลิงค์
ลงนามถวายพระพร
สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
การแสดงเจตจำนงสุจริตผ่านเว็บไซต์เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
ข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นสุโขทัย
หาดเสี้ยวบ้านเรา แฟนเพจ
ช่องทางติดต่อสอบถาม
   สอบถาม
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 4
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 669
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 4,728,534
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
5 มกราคม 2568
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
   
10  11 
12  13  14  15  16  17  18 
19  20  21  22  23  24  25 
26  27  28  29  30  31   
             
 ภูมิปัญญาท้องถิ่น


หัตถกรรมของหมู่บ้านหาดเสี้ยว

             เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยพวนตำบลหาดเสี้ยวที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นคนพวนที่อพยพมาจาก

เมืองเชียงขวาง ประเทศลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๐ ปัจจุบัน ไทยพวนยังดำรงวัฒนธรรมดังเดิมอยู่ ยามหมดหน้านามักทำ
อาชีพเสริมดังคำกล่าวว่า
  
หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก แต่ที่โดดเด่นคือ การทอผ้า ซึ่งมีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์  คือ ผ้าซิ่นตีนจก
โดยเฉพาะจกเก้าลายบ้านหาดเสี้ยว ซึ่งมีจุดโดดเด่นกว่าผ้าชนิดอื่น คือ ใช้มือจกผ้าเป็นลวดลายทั่งผืน
 ไม่ใช่การทอผ้าที่ใช้
ประโยชน์อื่น ๆ เช่น
 ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้าย่าม  ผ้าขาวม้า ผ้ารองจาน ผ้าคลุ่มไหล่ เป็นต้น 
               ผ้าที่เป็นภูมิปัญญาถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก  คือ ลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกของบ้านหาดเสี้ยว
มีทั้งหมด ๙ ลาย คือ  ๑.ลายสี่ขอ  ๒.ลายแปดขอ  ๓.ลายเครือน้อย  ๔.ลายเครือกลาง
  ๕.ลายเครือใหญ่  ๖.ลายน้ำอ่าง
๗.ลายสิบสองหน่วยตัด  ๘.ลายมนสิบหก และ  ๙.ลายสองท้อง 

                ผ้าจึงเป็นวัฒนธรรมหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวไทยพวนหาดเสี้ยวโดยเฉพาะผ้าซิ่น  นอกจากผ้าซิ่นตีนจก    ลาย
แล้วยังมีผ้าซิ่นชนิดต่างๆ อีกมาก
 เช่น ซิ่นเข็บ ซิ่นมุก ซิ่นแขบเย้  ซิ่นตาเติบ  ซิ่นตาผะเหย่อ ซิ่นตะผะน้อย ซิ่นตาเคิ่ง  ซิ่นวัยหวาน 
ซิ่นลายอ้อมแดง  ซิ่นลายตาหม่าโดน  
   

 

                           

 

         ซิ่นดำปึก ซิ่นตาผะแดงเหย่อ ส่วนของชายจะมีบ้าง เช่น เสื้อแพ่ เสื้อคอจีน เสื้อเชิ้ตเสื้อ คอกลมแขนยาว โซ้งแล้

ประเภทผ้าให้ความอบอุ่นได้แก่   ผ้าห่มดำ  ผ้าห่มตาโก้ง  ผ้าห่มขิด  ผ้านวม ผ้าคะหัว (ผ้าอเนกประสงค์) ผ้าห่มนอน

          ประเภทเครื่องใช้บรรจุ  เช่น  ถง  (ถุงย่าม)  ถงหมะ ถงเส่อห่อข้าว  ถงเหย่อ ถงตาอิดใช้ในงานพิธีต่าง ๆ  เช่น 

ใช้ในประเพณีแต่งงาน  งานบวชงานพิธีมงคลต่าง ๆ
             ประเภทผ้าตกแต่งเพื่มความสวบงามได้แก่  ถงหมะ ถงเส่อห่อข้าว  ถงเหย่อ  ถงตาอิดใช้ในงานพิธีต่าง ๆ  เช่น 
ช้าง ม้า  ผ้าคะหัวตาอิด  (สำหรับคนสูงอายุ) ผ้าลายตีนจก ผ้ายกดอก (สำหรับแต่งนาคแห่ช้าง)
            การทอผ้าสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ในสังคมของชาวไทยซึ่งเป็นชนเผ่าที่รักสงบ  เมื่อสังคมมีความสงบสุข 
ปลอดภัย  ผู้คนจะสร้างสรรค์งานที่มีจินตนาการลึกล้ำสู่งานผ้า ทำให้งานผ้าเป็นงานรูปธรรมที่มีความงามเกิดขึ้น จะเห็น
ได้จากการทอผ้าซิ่นของชาวไทยพวนหาดเสี้ยวมีลวดลาย ประณีต หลายรูปแบบ โดยภาพรวมแล้ว การทอผ้า
 เป็นตัวแทน
ถึงความเป็นมาของชาวไทยพวนหาดเสี้ยวได้อย่างดียิ่ง ทั้งความสวยงาม ประณีต คงทนเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น สมควร
ได้รับการสนับสนุนและอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้และยึดถือเป็นประเพณีสืบต่อไป


ประเภทผ้าไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว

2.1.ผ้าตีนจก

การทอผ้าตีนจกแบบดั้งเดิมของชาวไทยพวนหาดเสี้ยว จะใช้ขนเม่นในการจก (ล้วง) ฝ้ายจากด้านล่างขึ้นด้านบน
บนเส้นยืน โดยจะทอผ้าจากด้านหน้าของผ้าจก ( ผ้าตีนจกของที่อื่นๆ เช่น ผ้าจกแม่แจ่ม ผ้าจกราชบุรี
จะทอจากด้านหลัง )
ของชาวไทยพวนหาดเสี้ยว จะใช้ขนเม่นในการจก (ล้วง) ฝ้ายจากด้านล่างขึ้นด้านบน บนเส้นยืน โดยจะทอผ้าจากด้านหน้า
ของผ้าจก ( ผ้าตีนจกของที่อื่นๆ เช่น ผ้าจกแม่แจ่ม ผ้าจกราชบุรี
จะทอจากด้านหลัง )

ผ้าตีนจก 9 ลาย

2.1.1. ลักษณะเด่นของผ้าตีนจกไทยพวนหาดเสี้ยว

ผ้าตีนจกไทยพวนมีลักษณะที่แตกต่างจากผ้าตีนจกของที่อื่นๆ คือ การใช้ขนเม่นในการจกฝ้ายจากด้านล่างขึ้นด้านบน
บนเส้นยืน ให้เป็นไปตามลวดลายโดยมิได้มีการเก็บลวดลายไว้ล่วงหน้า ผู้ทอผ้าตีนจกจะต้องใช้
ความชำนาญในการจดจำ
ลวดลาย เพื่อให้การทอผ้าเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และการทอผ้าแต่ละแถว จะต้อง
ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ เพราะต้องนับ
เส้นด้ายแต่ละเส้น เพื่อใส่ด้ายสีในการจกเข้าไปโดยใช้ขนเม่นในการสอด
ด้ายสีนั้นๆ ระยะเวลาในการทอผ้าตีนจก จึงต้อง
ใช้เวลานานกว่าผ้าประเภทอื่นๆ แต่เมื่อแล้วเสร็จ ผ้าตีนจก จะเป็
นผ้าที่มีความงดงาม ประณีต กว่าผ้าผืนใดๆ ของชาวไทยพวน

2.1.2. โครงสร้างของผ้าตีนจกไทยพวนหาดเสี้ยว
โครงสร้างของผ้าตีนจกไทยพวนหาดเสี้ยว ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.  ลายประกอบ
2.  ลายหลัก


2.1.3. ลายประกอบของผ้าตีนจก
ลายประกอบของผ้าตีนจก แต่ละลายจะมีความแตกต่างกันไป และมีความหมายแฝงอยู่ในตัวเอง ดังนี้
2.1.3.1. พันคิง ลักษณะเป็นขีดเล็กๆ เรียงต่อกันไปเป็นแถวยาว เป็นลายที่ใช้คั่นสลับระหว่างลายต่างๆ

พันคิง
 

2.1.3.2. ลายนกคุ้ม ลักษณะเป็นรูปนกตัวเล็กๆสองตัว ยืนเข้าหากันในกรอบเป็นคู่ๆ หมายถึง การอยู่คุ้มเหย้าคุ้มเรือน
คุ้มผัวคุ้มเมีย บังเกิดเป็นศิริมงคลต่อการใช้ชีวิตคู่

ลายนกคุ้ม
 

2.1.3.3. ลายนกคาบ ลักษณะเป็นนกเล็กๆ สองตัวหันหน้าชนกัน และคาบดอกไม้ร่วมกัน หมายถึงการให้สัจจะวาจา
ที่จะครองรักร่วมกันอย่างจีรังยั่งยืน

ลายนกคาบ
 

2.1.3.4. ลายนกหมู่ ลักษณะเป็นนกเล็กๆ ยืนเรียงต่อกันไปตลอดผืน หมายถึงการไปเป็นหมู่เป็นพวก ไม่มีความขัดแย้ง
ทั้งในด้านความคิดและการกระทำ บังเกิดความสามัคคีจีรังยั่งยืน

ลายนกหมู่
 

2.1.3.5. ลายดอกหมี่ ลักษณะเป็นลายคล้ายดอกไม้ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม

ลายดอกหมี่
 

2.1.3.6. ลายผีเสื้อ ลักษณะเป็นลายคล้ายผีเสื้อ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม

ลายผีเสื้อ
 

2.1.3.7. ลายฟันปลา ลักษณะเป็นซี่เล็กๆสูงต่ำคล้ายฟันปลา

ลายฟันปลา
 

2.1.3.8. ลายสร้อยพร้าว ลักษณะคล้ายก้างปลาวางเป็นแนวติดต่อกัน เป็นลายประกอบเพื่อความสวยงาม

ลายสร้อยพร้าว
 

2.1.3.9. ลายเครือขอ ลักษณะรูปทรงคล้ายตะขอวางตัวในมุมเอียง แต่ละขอเกาะเกี่ยวกันเป็นเครือยาว

ลายเครือขอ
 

2.1.3.10. ลายสร้อยสา ลักษณะจะประกอบด้วย หัวสร้อยสา และมีหางเป็นเส้นตรงยาวลงมาเกือบจรดเชิงผ้า
เพื่อเพิ่มความอ่อนช้อยให้กับผ้าตีนจก ซึ่งลายนี้จะเป็นลายสุดท้ายของผ้าตีนจก

ลายสร้อยสา

2.1.4. ลายหลักของผ้าตีนจก

      ลายหลักของผ้าตีนจก เป็นลายที่อยู่ตรงกลางของผ้าตีนจก มีลักษณะที่เด่นกว่าลายประกอบ ลายหลักที่เป็นลายแบบโบราณ
ของชาวไทยพวนหาดเสี้ยว มีทั้งหมด
9 ลาย ดังนี้

2.1.4.1. ลายเครือน้อย เป็นลายหลักที่ทอได้ง่าย สามารถให้เด็กฝึกหัดทำได้ โครงสร้างของลายไม่ซับซ้อนลายประกอบที่เป็น
เอกลักษณ์ ของลายเครือน้อย คือ จะใช้นกหมู่แทนนกคาบ ในสมัยก่อนตีนจกลายเครือน้อย
จะต่อกับซิ่นมุก

ลายเครือน้อย
 

2.1.4.2. ลายเครือกลาง เป็นลายหลักที่คล้ายกับลายเครือน้อย แต่เพิ่มความยากในการจกมากขึ้น ลายประกอบจะใช้ลายประกอบ
ทั่วๆไปเหมือนกับลายอื่นๆ ในสมัยก่อนตีนจกลายเครือกลางมักจะต่อกับซิ่นเข็น

ลายเครือกลาง
 

2.1.4.3. ลายเครือใหญ่ เป็นลายหลักที่มีดอกไม้อยู่ตรงกลาง ลายประกอบจะใช้ลายประกอบทั่วๆไปเหมือนกับลายอื่นๆในสมัยก่อน
ตีนจกลายเครือใหญ่ มักจะต่อกับซิ่นมุก

ลายเครือใหญ่
 

2.1.4.4 . ลายสี่ขอ เป็นลายหลักที่คล้ายลายสิบสองหน่วยตัด แต่มีขนาดเล็กว่า คือ มี 4 ขอ ส่วนใหญ่เป็นผ้าซิ่นสำหรับเด็ก ในสมัยก่อน
ตีนจกลายสี่ขอ มักจะต่อกับซิ่นตาหว้า

ลายสี่ขอ
 

2.1.4.5 . ลายแปดขอ เป็นลายหลักที่คล้ายกับลายมนสิบหก แต่ขนาดเล็กกว่า ลายประกอบที่มีลักษณะเด่น คือจะใช้ลายนกแถว แทน
ลายนกคาบ ในสมัยก่อนตีนจกลายแปดขอ มักจะต่อกับซิ่นอ้อมแดง

ลายแปดขอ
 

2.1.4.6. ลายน้ำอ่าง เป็นลายหลักที่มีนกสองตัวคาบดอกไม้ร่วมกัน คล้ายกับการคาบในอ่างน้ำ ลายประกอบจะใช้เหมือนกับ
ลายอื่นโดยทั่วไป ในสมัยก่อนตีนจกลายน้ำอ่าง มักจะต่อกับซิ่นเข็น

ลายน้ำอ่าง
 

2.1.4.7. ลายสองท้อง เป็นลายหลักที่คล้ายกับลายน้ำอ่างแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ นอกจากจะมีนกใหญ่สองตัวคาบดอกไม้ร่วมกันแล้ว
ยังมีนกอีกสองตัว ที่มีขนาดเล็กคาบดอกไม้ร่วมกันอยู่ด้วย ทำให้ลายสองท้อง มี
ขนาดใหญ่กว่าลายหลักอื่นๆ และลายประกอบ
ที่แตกต่างจากลายหลักอื่นๆ คือ จะใช้ลายผีเสื้อแทนลายดอกหมี่

ลายสองท้อง
 

2.1.4.8. ลายมนสิบหก เป็นลายหลักที่มีมุม 16 มุม มีลักษณะคล้ายกับลายแปดขอ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลายประกอบจะใช้เหมือนกับ
ลายอื่นๆโดยทั่วไป ในสมัยก่อนตีนจกลายมนสิบหก มักจะต่อกับซิ่นตาเติบ

ลายมนสิบหก
 

2.1.4.9. ลายสิบสองหน่วยตัด เป็นลายหลักที่มีขอ 12 ขอ มีขาพันทำเป็นสามเหลี่ยม และมีนกคาบตัวเล็กอยู่ตรงกลางลายประกอบ
จะใช้เหมือนกับลายอื่นๆ โดยทั่วไป ในสมัยก่อนตีนจกลายสิบสองหน่วยตัด มักจะต่อกับซิ่นตาหว้า

ลายสิบสองหน่วยตัด

 

2.2. ผ้ามุก

เป็นผ้าทอที่จัดอยู่ในประเภทผ้าเหยียบดอก หมายถึง ลวดลายจะเกิดในเส้นฝ้ายยืน โดยจะต้องทำเครือฝ้ายยืน 2 เครือ
คือ ชั้นฝ้ายยืนที่เป็นพื้น และ ชั้นฝ้ายยืนที่เก็บลวดลายมุก เวลาทอจะใช้วิธีการเหยียบไม้
เพื่อสลับฝ้ายยืนทั้งสองชั้น

2.2.1 .ลักษณะเด่นของผ้ามุก

เป็นผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีรูปทรงกลมคล้ายมุก และสามารถเปลี่ยนไม้เหยียบเพื่อให้เกิดลวดลายใหม่ได้ เช่น
มุกขาเปีย มุกดอกคว่ำดอกหงาย เป็นต้น

ผ้ามุก

        ผ้ามุก

ผ้ามุก - ขาเปีย

ผ้ามุก - ขาเปีย 

ผ้ามุก - ลายดอกคว่ำดอกหงาย

ผ้ามุก - ลายดอกคว่ำดอกหงาย 
 

2.3. ผ้าลายพริกไทย

เป็นผ้าทอที่จัดอยู่ในประเภทเหยียบดอก มี่สี่เหา ( สี่เขา หรือ สี่ตะกอ ) ลวดลาย จะถูกเก็บไว้ล่วงหน้าในแต่ละตะกอ
บนเส้นยืน รวม
4 ตะกอ การสอดเส้นด้ายพุ่ง จะสอดตามการเหยียบไล่ไม้ของผู้ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายตามที่เก็บไว้ ในสมัยก่อน
ส่วนใหญ่จะทอเพื่อทำเป็นผ้าห่ม โดยทอผ้า
2 ชิ้นมาเย็บต่อกลาง หน้าผ้า 1 ชิ้นประมาณ 20 นิ้ว ในปัจจุบัน นำมาดัดแปลง
โดยใช้ฝ้ายเส้นเล็กทอ และทำ
หน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ผ้าลายพริกไทย

2.3.1. ลักษณะเด่นของผ้าลายพริกไทย

ผ้าลายพริกไทย มีลักษณะเป็นดอกเล็กๆ ผิวสัมผัสของผ้าจะนูนขึ้นมาตรงลายดอก เนื้อผ้ามีความนุ่มมือเหมาะสำหรับ
เป็นผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่

2.3.2. โครงสร้างของผ้าลายพริกไทย

โครงสร้างของผ้าลายพริกไทย ส่วนใหญ่จะมีลวดลายตลอดผืน กรณีที่ทำเป็นผ้าห่มในสมัยก่อน อาจจะมีการสลับสี
ช่วงหัว - ท้ายของผ้าห่มบ้างเพื่อความสวยงาม

 

2.4. ผ้าลายสอง

เป็นผ้าทอที่จัดอยู่ในประเภทเหยียบดอก มีสี่เหา ( สี่เขา หรือ สี่ตะกอ ) ลวดลาย จะถูกเก็บไว้ล่วงหน้าในแต่ละตะกอ
บนเส้นยืน รวม
4 ตะกอ การสอดเส้นด้ายพุ่ง จะสอดตามการเหยียบไล่ไม้ ของผู้ทอ  เพื่อให้เกิดลวดลายตามที่เก็บไว้
ผ้าลายสองนี้ ในสมัยก่อนส่วนใหญ่ จะทอเพื่อทำเป็นผ้าห่ม เรียกว่า 
ผ้าห่มตาแดง ( ลายสองมีริ้วแดง ) ใช้ฝ้ายเส้นใหญ่ทอ
เพื่อเพิ่มความอบอุ่น ในปัจจุบันนำมาดัดแปลง
โดยใช้ฝ้ายเส้นเล็กทอ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เครือผ้าลายสองนี้
สามารถทอ ให้เกิดลายลูกแก้วได้
ถ้าเหยียบไม้ไปตามลวดลาย อีกแบบหนึ่ง

2.4.1. ลักษณะเด่นของผ้าลายสอง

ผ้าลายสองมีลักษณะของลายที่เป็นเส้นทะแยงซ้าย - ขวาสลับกันไปเป็นช่วงๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ผิวสัมผัส
ของเนื้อผ้าจะมีความนูน ลวดลายจะคล้ายผ้ายีนส์

ผ้าลายสอง

2.4.2. โครงสร้างของผ้าลายสอง

โครงสร้างของผ้าลายสอง ส่วนใหญ่เป็นลวดลายตลอดผืน กรณีที่ทอเป็นผ้าห่ม อาจสลับสีบ้างช่วงหัว - ท้ายของผ้าห่ม
เพื่อเพิ่มความสวยงาม

 

2.5. ผ้ายกดอก

เป็นผ้าทอที่พัฒนาขึ้นใหม่ จัดอยู่ในประเภทยกเหา ( เขา ) โดยมีการเก็บลวดลายไว้ล่วงหน้า ใช้วิธีการทอแบบยกเหา
( เขา ) แล้วสอดไม้แป้นขิด ตั้งค้างไว้ จึงจะสอดด้ายพุ่งเข้าไป เพื่อให้เกิดลวดลาย ลักษณะ
การทอ ที่มีการยกเหา เพื่อให้เกิด
ลวดลายนี้ เรียกว่า การทอผ้ายกดอก

2.5.1. ลักษณะเด่นของผ้ายกดอก

ผ้ายกดอกมีลักษณะเด่น คือ ในผืนผ้าจะมีลวดลายในตัว โดยผิวสัมผัส ผ้ายกดอก จะมีความนูน ของผืนผ้าแต่ละชิ้น
แตกต่างกัน ขึ้นอยุ่กับลวดลาย แต่ละลาย ส่วนใหญ่ลายจะใช้ฝ้าย หรือไหมสีเดียวกัน ตลอดทั้งผืน
บางครั้ง อาจมีการจกฝ้าย
เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเด่น ของลวดลายก็ได้

ผ้ายกดอก

2.5.2. โครงสร้างของผ้ายกดอก

โครงสร้างของผ้ายกดอก ส่วนใหญ่จะมีลวดลายตลอดผืน เพื่อใช้สำหรับตัดเสื้อผ้า หรืออาจมีลวดลายเป็นช่วงๆ
เพื่อประโยชน์ ในการใช้สอย ที่แตกต่างกันไป เช่น ผ้ายกดอกที่ทำเป็นผ้าคลุมไหล่ ช่วงชายผ้า
อาจทอลาย สลับกับพื้น
เป็นช่วงๆ ก็ได้


 


สำนักงานเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว
309 หมู่ที่3 ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130
โทรศัพท์ 055 - 671-122 โทรสาร 055 - 671-122 ต่อ 33
Copyright by hadsiew.com
Engine by MAKEWEBEASY